วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เครื่องมือต่างๆในโปรแกรมSketch Up

การใช้งานเครื่องมือ Follow Me ใน Google SketchUp
         
Follow Me เป็นเครื่องมือสำหรับปรับแต่งโมเดล และใช้สร้างรูปทรงต่างๆ การใช้งานเครื่องมือ Follow Me บนวัตถุจะมีลักษณะคล้ายๆกับการใช้เครื่องมือ Push/Pull จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องมือ Follow Me นั้นจะวิ่งไปตามเส้นขอบของวัตถุในทิศทางที่เรากำหนด เรียกใช้งานได้โดยไปที่ เมนู ---> Tools ---> Follow Me

หรือ เลือกได้จากชุดเครื่องมือ Modification จาก เมนู ---> View ---> Toolbars ---> Modification 

  • ลบมุมของวัตถุให้โค้งมน (วิธีที่ 1)
ตัวอย่างที่จัดทำเป็นตัวอย่างง่ายๆในการใช้เครื่องมือ Follow Me และการใช้เส้นโค้ง Arc ตามขั้นตอนดังนี้
1. สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมาหนึ่งรูป แล้วใช้เครื่องมือ Arc (A) สร้างเส้นโค้งที่มุมด้านบนของสี่เหลี่ยม


2. ใช้เครื่องมือ Follow Me คลิก 1 ครั้งที่พื้นผิวตรงมุมด้านบนสวนที่้่ต้องการลบออกเพื่อให้เกิดการโค้งมน แล้วลากเม้าส์ไปรอบๆ ตามขอบจนมาบรรจบกันแล้วให้คลิกเม้าส์อีกครั้ง ในขณะที่เราใช้เครื่องมือ หากเราใช้มุมมอง X-Ray จะทำให้เราเห็นโครงสร้างภายใน และมองเห็นเส้นขอบทำให้ใช้เครื่องมือ Follow Me ได้สะดวกขึ้น ดังภาพ
Follow Me รอบๆรูปสี่เหลี่ยม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการ Follow Me
  • ลบมุมของวัตถุให้โค้งมน (วิธีที่ 2 อันนี้ แอดมินใช้บ่อย)
1. ใช้เครื่องมือ Select (กดคีย์ลัด Spacebar ) แล้วกดปุ่ม Ctrl เลือกเส้นขอบด้านที่ต้องการให้โค้งมนทั้ง 4 เส้น  ดังภาพ

 กดปุ่ม Ctrl แล้วเลือกเส้นขอบ 4 เส้น

2. ขณะกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ ให้กดเครื่องมือ Follow Me แล้วคลิกพื้นผิวตรงมุมด้านที่ต้องการทำให้โค้งมน แล้ววัตถุจะถูกลบออกไปทันที ดังภาพ


Tips :
           นอกจากเครื่องมือ Follow Me จะใช้บนพื้นผิวด้านในของวัตถุแล้ว เรายังประยุกต์ใช้กับวัตถุที่อยู่รอบๆเส้นของด้านนอก ที่ไม่ใช่ตัววัตถุโดยตรงได้ เป็นวัตถุที่เราสร้างเพิ่มเติมขึ้นมา ในตัวอย่างจะทำเป็นขาเก้าอี้เพิ่มเติมเป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ ขั้นตอนดังนี้

1. สร้างวัตถุเพิ่มเติมดังตัวอย่างให้ติดกับเส้นขอบของวัตถุ
วัตถุเพิ่มเติม


2. เพื่อให้เราสามารถใช้เครื่องมือ Follow Me ได้สะดวกขึ้นควรเลือกมุมมองเป็น X-Ray เพื่อให้เห็นโครงสร้างและเส้นของของวัตถุ จากนั้น ใช้เครื่องมือ Follow Me กับส่วนที่เพิ่มเติมวัตถุ แล้วลากไปตามเส้นขอบของวัตถุต้นแบบ ดังภาพ

Follow Me วัตถุเพิ่มเติม รอบๆ สี่เหลี่ยม

 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.  Select   ใช้ในการเลือก
 
2.  Line   สร้างเส้นตรง
 
3. Rectangle   สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
 
4. Circle   สร้างวงกลมหรือวงรี
 
5.  Arc   สร้างเส้นส่วนโคง้
 
7.  Eraser  ใช้ในการลบสิ่งของ หรือสิ่งที่ไม่ต้องการ
 
8.  Tape Measure    วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดใดๆบนโมเดล
 
9.  Paint Bucket   ใช้ในการใส่สี หรือใส่สีพื้นหลัง กระจก และพื้นบ้าน
 
10. Push/Pull      ดึงพื้นผิวขึ้น-ลง หรือใช้เจาะพื้นผิวของแบบจําลอง
 
11. Move/Copy   ย้ายหรือคัดลอกชิ้นส่วนต่างๆ บนแบบจำลอง
 
12. Rotate    หมุุนพื้นผิว หรือ หมุนชิ้นส่วน
 
13.Offset    ออกแบบสร้างเส้นหรือผิวจากต้นแบบ
 
14. Orbit   ใช้ในการปรับมุนมุมมอง
 
15. Pan   ใช้ในการเลื่อนดูมุมมอง
 
16. Zoom  ใช้ในการย่อและขยายงาน
 
Polygon   สร้างรูปหลายเหลี่ยม
 
Scale    ย่อหรือขยายวัตถุ
 
Freehand   สร้างเส้นอิสระตามการลากของเมาส
 

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการนำรูปภาพ2มิติมาเป็นฉากหลัง




เป็นเทคนิคในการสร้างภาพพื้นหลังของงานออกแบบ3มิติให้อยู่ภายในองค์ประกอบส่วนที่สำคัญในGoogle Sketch Up เป็นขั้นตอนในการเพิ่มภาพพื้นหลังของโปรแกรมGoogle Sketch Up  ให้อยู่ภายใต้ส่วนประกอบหลักๆส่วนที่สำคัญของงานออกแบบ3D เป็นวิธีการสร้างbackground ด้านหลังของการเขียนแบบ3D เพื่อเสริมความสมบูรณ์ให้กับงานออกแบบ

การสร้างรูปทรงต่างๆและการเจาะ









วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มุมมองใน Google SketchUp



          Google SketchUp เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างโมเดล 3D ซึ่งมุมมองของภาพจะอยู่ในรูปมิติ ในการสร้างโมเดล หากเราเลือกมุมมองให้เหมาะสมในขณะสร้างชิ้นงาน จะทำให้เราสร้างชิ้นงานได้ตรงตามความต้องการ และผลงานที่ได้จะมีความสวยงาม
  • มุมมองมาตรฐาน Google SketchUp
มุมมองมาตรฐานในโปรแกรม Google SketchUp จะใช้ชุดเครื่องมือ View มีวิธีการเรียกใช้ดังนี้
ไปที่  เมนู View ---> Toolbars ---> Views


ชุดเครื่องมือ View สามารถ ปรับแต่งให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการได้ ตาม Link ด้านล่างนี้
  • มุมมองใน Google SketchUp มีดังนี้

1) มุมมองสามมิติ ( ISO ) หากต้องการเรียกใช้ ให้กดที่ ICon  ในชุดเครื่องมือ Views จะได้มุมมองภาพดังนี้




2) มุมมองด้านบน (Top) หากต้องการเรียกใช้ ให้กดที่ ICon  ในชุดเครื่องมือ Views    
                 จะได้มุมมองภาพดังนี้


    3) มุมมองด้านหน้า (Front) 


   4) มุมมองด้านขวา (Right)


    5) มุมมองด้านซ้าย (Left)


       6) มุมมองด้านหลัง (back)


                   7) มุมมองด้านล่าง (Botton)

ผู้ใช้ควรเลือกมุมมองในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความถูกต้องกับชิ้นงานและความสะดวกเร็วในการทำงาน

รูปแบบการแสดงชิ้นงานบนจอภาพ

ในบางครั้งหากเราต้องการแสดงชิ้นงานที่สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน เช่นต้องการใช้ชิ้นงานที่โปร่งใสเพื่อดูองค์ประกอบด้านใน หรือต้องการแสดงเฉพาะโครงสร้างเพื่อให้เห็นการออกแบบโครงสร้างที่ชัดเจน หรือเน้นเส้นขอบให้เข้มขึ้นเพื่อเน้นส่วนประกอบนั้น เนื่องจาก Google SketchUp มี 2 รูปแบบในการแสดงผล คือ พื้นผิว (Face) และเส้นขอบ (Edge) จีงสามารถปรับปรุงรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้ 2 แบบคือ
  • รูปแบบการแสดงพื้นผิวระนาบ (Face Style)
  • รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)

รูปแบบการแสดงพื้นผิว (Face Style)
          เราสามารถปรับรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้จากกลุ่มเครื่องมือ Style ในเมนูบาร์ เรียกใช้งานได้จากคำสั้ง View ---> Toolbars ---> Style นอกจากนี้ยังเรียกใช้ผ่านคำสั่ง View ---> FaeStyle ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการปรับแต่งใช้งานมีดังนี้


  • X-ray : การแสดงชิ้นงานในรูปแบบโปร่งใส มองทะลุเข้าไปด้านในได้

  • Back Edges : แสดงชิ้นงานให้เห็นเส้นโครงสร้าง ด้านหลังด้วย เมื่อซูมใกล้จะเห็นได้ชัดเจน

  • Wireframe : แสดงชิ้นงานเฉพาะเส้นขอบเป็นโครงสร้าง

  • Hidden Line : แสดงชิ้นงานแบบไม่แสดงสีหรือพื้นผิวใดๆ บนชิ้นงาน

  • Shadded : แสดงชิ้นงานโดยใส่สีพื้นผิวชิ้นงาน 

  • Shaded with textures : แสดงชิ้นงานแบบแสดงสีและพื้นผิวบนชิ้นงาน  ส่วนใหญ่ในการสร้างโมเดลจะใช้ Style นี้เป็นหลัก

  • Monochrome : แสดงชิ้นงานตามสีพื้นฐานของโปรแกรม

Tips :

          การแสดงพื้นผิวแบบ X-Ray สามารถทำงานควบคู่กับการแสดงชิ้นงานในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าขณะนั้นเราทำงานกับการแสดงรูปแบบใด จึงทำให้เราเห็นพื้นผิวของชิ้นงานและโปร่งใส ทำให้สะดวกในการออกแบบมากขึ้น ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ดังภาพ



รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)

          นอกจากกลุ่มเครื่องมือ Face Style เรายังสามารถแสดงชิ้นงาน โดยเน้นการแสดงผลที่เส้นขอบของชิ้นงาน โดยใช้คำสั่ง View ---> Edge Style  การแสดงเส้นของที่ต้องการ ดังนี้


  • Display Edges : เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นขอบ

  • Profiles : เน้นการแสดงด้านในตัวชิ้นงาน

  • Depth Cue : เน้นเส้นขอบที่อยู่ด้านนอกของชิ้นงาน

  • Extension : ขยายเส้นขอบให้เลยออกมานอกชิ้นงาน นิยมใช้ในการออกแบบบ้าน อาคาร เป็นลายเส้นสเก็ตช์

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมSketch Up


SketchUpนั้นสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น งานออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ออกแบบภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกมส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
1. งานออกแบบอาคาร ออกแบบและตกแต่งภายใน2. งานออกแบบทางวิศวกรรม ออกแบบชิ้นงานหรือเครื่องจักร3. งานออกแบบเกมคอมพิวเตอร์


และสามารถใช้ในงานออกแบบเชิงสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายในและภายนอก การออกแบบกลไกการทำงานของเครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ ภูมิประเทศ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงงานออกแบบฉาก อาคาร และสิ่งก่อสร้างในเกม หรือจะเป็นการจัดฉากทำ Story Boards ในงานภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับปลั๊กอิน (Plugin) ต่างๆที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Google SketchUP ให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้การสร้างรูปทรงต่างๆสามารถทำได้ง่ายขึ้น ไปจนถึงปลั๊กอินที่ช่วยในการจัดแสงเงาให้ดูสมจริงอย่างเช่น V-Ray หรือ Podium เป็นต้น


(plug in คืออะไร
plug in คือ โปรแกรมเสริมชนิดหนึ่ง ที่จะเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรมหลัก ซึ่งเราจะติดตั้งเพื่อใช้งาน หรือไม่ติดตั้งก็ได้ โดย plug in ถูกออกแบบให้มีความสามารถเฉพาะอย่าง ซึ่งเป็นความสามารถเสริมที่ช่วยให้โปรแกรมหลักทำงานได้ดีขึ้น เช่นช่วยเพิ่มลูกเล่นต่างๆให้โปรแกรมหลัก หรือเพิ่มความสามารถพิเศษบางให้โปรแกรมหลัก ตัวอย่าง plug in ก็เช่น ถ้าใช้โปรแกรม Windows Media Player แล้วดูไฟล์บางประเภทไม่ได้ ก็ต้องลงโปรแกรม codec เพิ่ม ในกรณีนี้โปรแกรม codec ถือเป็น plug in นั้นเอง หรืออย่างเช่นในการชมวีดีโอ ผ่าน web browser หากวีดีโอไม่สามารถเปิดได้ ก็ต้องลงโปรแกรม Adobe Flash Player
ดังนั้น Adobe Flash Player จึงถือเป็น plug in)

ตัวอย่างผลงานจากการใช้โปรแกรม Sketch Up